“มะรุม” การวิจัยในประเทศไทย

มะรุมการวิจัยในประเทศไทย

  • งานวิจัยในไทย สำหรับการวิจัยด้านฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาเพื่อรักษาโรคนั้นพอมีอยู่บ้าง เช่น จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและมหาวิทยาลัยยมหิดลเป็นต้น แต่ส่วนใหญ่เป็นการทดลองในสัตว์ ซึ่งมีหลายฤทธิ์ เช่น ลดความดัน ขับปัสสาวะ ลดไขมัน ต้านเชื้อแบททีเรีย ต้านมะเร็ง เป็นต้น ซึ่งยังไม่มีงายวิจัยทดลองในมนุษย์ที่สมบูรณ์

งานวิจัยในสัตว์ทดลอง ของคณะเภสัชศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดล

  • งานวิจัยของมุรุมนี้มีเพียงแต่การทดลองในสัตว์ ยังไม่มีงานวิจัยในคน จึงไม่ควรรับประทานในปริมาณมากหรือติดต่อกันนานเกินไป ซึ่งอาจเกิดการสะสมสารบางอย่าง แล้วก่อให้เกิดพิษต่อร่างกายเพราะมีรางงานความเป็นพิษในสัตว์ทดลอง พบว่าทำให้เกิดการแท้งได้  สำหรับงานวิจัยที่น่าสนใจใน “สัตว์ทดลอง” มีโดยย่อดังนี้

ฤทธิ์ต้านการเกิดแผลในกระเพาะอาหาร

  • สารสกัดเมทานอลของใบ และสารสกัดเมทานอลจากส่วนดอก สามารถยับยั้งการเกิดแผลในกระเพราะอาหารของหนูแรท ซึ่งถูกเหนี่ยวนำโดยแอสไพรินได้ ในขณะที่สารสกัดน้ำจากใบมีผลป้องกันการเกิดแผลในกระเพราะอาหารด้วย

ฤทธิ์ลดความดันโลหิต

  • สารสกัดน้ำและเอทานอลของใบมะรุม สารสกัดเอทานอลของผลและฝัก สารในกลุ่ม glycol-sides ในสารสกัดเมทานอลของฝักแห้งและเมล็ด แสดงฤทธิ์ลดความดันโลหิตในสุนัขและหนูแรท

ฤทธิ์ของสารสกัดใบมุรุมป้องกันความเป็นพิษต่อตับ

  • การป้อนสารสกัดใบมุรุมด้วย  80% hydroalcoholic ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่าใบมุรุมสามารถป้องกันการทำลายตับจากการเหนี่ยวนำของสาร acetaminophen ตลอดจนป้องกันการลดลงของระดับ glutathione ด้วย

ฤทธิ์ป้องกันตับอักเสบ

  • สารสกัด 80% เอทานอลจากใบ สารสกัดน้ำและสารสกัดเอทานอลจากดอก มีฤทธิ์ป้องกันการทำลายเซลล์ตับหนูแรทที่ได้รับ acetaminophen (ยาพาราเซตามอล) และสารสกัดน้ำจากส่วนรากแสดงฤทธิ์ป้องกันการทำลายเซลล์ตับหนูแรทจากการเหนี่ยวนำโดยยาไรแฟมพิซิน

ฤทธิ์ต้านการเกิดเนื้องอกและฤทธิ์ต้านมะเร็ง

 

  • สาระสำคัญในกลุ่ม thiocarbamate จากใบ สารสกัดเอทานอลของเมล็ด แสดงฤทธิ์ทั้งยับยั้งการเจริญเติบโต และทำลายเซลล์มะเร็ง เมื่อป้อนสารสกัดของผลและฝัก ขนาด 5 มก./กก. น้ำหนักตัว มีผลลดจำนวนหนูเม้าส์ที่เป็นมะเร็งผิวหนังได้ ผงเมล็ดมะรุมสามารถป้องกันภาวะ oxidative stress ในหนูที่ได้รับสาร arsenic ได้
  • จากการศึกษาสรุปได้ว่าการให้ผงเมล็ดร่วมกับสาร arsenic สามารถป้องกันภาวะ oxidative stress ในหนูได้ และลดการดูดซึมของสาร arsenic ในเนื้อเยื่อด้วย

ฤทธิ์ต้านออกซิเดชัน

  • สารสกัดน้ำ สารสกัด 80% เมทานอล และสารสกัด 70% เอทานอลจากส่วนใบ ผงแห้งบดหยาบและสารสกัดน้ำจากเมล็ด และสารในกลุ่ม phenol จากส่วนรากสามารต้านและกำจัดอนุมูลอิสระได้

ฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรีย

  • น้ำคั้นสดของใบ สารประกอบคล้าย pterygospermin ของดอก สารสกัดอะซีโตนและสารสกัดเอทานอลจากเมล็ด สารสกัดน้ำจากเมล็ด สารสกัดน้ำจากเมล็ด น้ำคั้นจากเปลือกต้น สารสกัดเอทานอลของเปลือกราก และสาร athomin จากเปลือกราก มีฤทธิ์ยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรียได้หลายชนิด นอกจากนี้ยังมีการใช้สารสกัดน้ำมันจากเมล็ด ซึ่งมีฤทธิ์ยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรียเป็นผลิตภัณฑ์สำหรับใช้กับตา โดยพบว่าใช้ได้ดีกับ pyodermia ในหนูเมาส์ ที่มีสาเหตุมาจาก Staphylococcus aureus

ฤทธิ์ลดระดับคอเลสเตอรอล

  • สารสกัดน้ำของส่วนใบ มีผลลดระดับคอเลสเตอรอลและลดการเกิด plaque ในหลอดเลือดของหนูแรทและกระต่ายซึ่งได้รับอาหารชนิดที่มีไขมันสูง การทดสอบโดยให้กระต่ายที่มีระดับคอเลสเตอรอลสูงและกระต่ายปกติโดยให้กินผลมะรุมขนาด 200 มก./กก. น้ำหนักตัว ต่อวัน นาน 120 วัน เปรียบเทียบกับยาลดไขมันโลวาสแตทิน 6 มก./กก. น้ำหนักตัว ต่อวัน และให้อาหารไขมันมาก พบว่ามีผลลดระดับคอเลสเตอรอล, phospholipids, triglycerides, low density lipoprotein (LDL), very low density lipoprotein (VLDL), อัตราส่วนระหว่างคอเลสเตอรอลและ phospholipids และ atherogenic index ในกระต่ายกลุ่มแรกได้

ฤทธิ์ลดไขมันของมะรุม

  • นำผลมะรุมที่เริ่มแก่มาตัดปลายออก นำไปนึ่ง 10-20 ในหม้ออัดความดัน นำมาลอกเปลือกนอก เอาส่วนเนื้อและเมล็ดไปทำให้แห้ง บด เอาผงที่ได้ไปให้กระต่ายซึ่งมีไขมันสูงกิน พบว่าสามารถลด xholesterol, LDL, VLDL, และ atherogenic index แต่ทำให้ HDL และ HDL/HDL-total สูงขึ้น แต่ไม่มีผลในกระต่ายปกติ และยังพบว่าทำให้หนูขับ cholesterol ออกทางปัสสาวะมากขึ้น

ฤทธิ์ลดระดับน้ำตาล

  • ผงใบแห้ง สารสกัด 95% เอทานอล และเถ้าจากเปลือกต้น มีผลลดระดับน้ำตาลในเลือกของหนูแรทปกติ และหนูที่เป็นเบาหวาน ส่วนสารสกัดเมทานอลจากเปลือกรากแสดงฤทธิ์ลดระดับน้ำตาลในหนูเม้าส์

สารสกัดใบมะรุมลดระดับน้ำตาลในเลือด

  • การศึกษาฤทธิ์ลดระดับน้ำตาลในเลือดและฤทธิ์ต้านเบาหวานของสารสกัดใบมะรุมด้วยน้ำ สรุปได้ว่าสารสกัดใบมะรุมด้วนน้ำมีฤทธิ์ลดระดับน้ำตาลในเลือดได้อย่างมีนัยสำคัญและสามารถใช้เป็นยาพื้นบ้านรักษาโรคเบาหวาน

ฤทธิ์ต้านการอักเสบ

  • ชาชงน้ำร้อน และสารสกัดเมทานอลจากรากมีฤทธิ์ยับยั้งอาการบวมที่อุ้งเท้าหลังของหนูแรทและหนูเม้าส์ที่ถูกเหนี่ยวนำด้วยคาราจีแนน ในขณะที่เมล็ดแก่สีเขียวสารสกัดเอทานอลจากเมล็ดแห้ง และสารสกัดเอทานอลจากเมล็ดมีผลลดการอักเสบของทางเดินหายใจในหนูตะภา ซึ่งยืนยันถึงการใช้มะรุมในท้างพื้นบ้านเพื่อบำบัดอาการผิดปกติจากภูมิแพ้ เช่น หอบหืด สารสกัดเอทานอลจากเมล็ด สามารถลดการบวมของอุ้งเท้าบริเวณข้อของหนูแรท และพบว่าสารสกัดมะรุมมีผลลด oxidative stress ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับฤทธิ์ต้านการอักเสบด้วย

ฤทธิ์ต้านการอักเสบ แก้ปวด จากสารในรากมะรุม

  • สาร aurantiamide acetate และ 1,3-dibenzyl urea จากกรากมะรุม (Moringa oleifera) มีฤทธิ์ยับยั้งสาร  tumor necrosis factor=alpha (TNF-á) และสาร interleukin 2 (lL-2) ในหลอดทดลอง โดยสารทั้ง 2 ชนิดนี้ จะเพิ่มขึ้นเมื่อเกิดการอักเสบนอกจากนี้ สาร 1,3-dibenzyl urea ยังแสดงฤทธิ์บรรเทาปวด ซึ่งการออกฤทธิ์ขึ้นกับขนาดที่ให้เมื่อทดสอบในหนูแรท จากผลดังกล่าวทำให้สามารถสรุปได้ว่าสาร aurantiamide acetate และ 1,3-debenzyl urea มีฤทธิ์ต้านการอักเสบซึ่งอาจจะเป็นประโยชน์ในการใช้เพื่อการรักษาโรคที่เกิดจากการอักเสบ เช่น โรคกระดูกและข้ออักเสบ

ฤทธิ์ของสารสกัดเมล็ดมะรุม ลดการอักเสบของข้อ

  • พบว่าสารสกัดเอทานอลของเมล็ดมะรุมสามารถลดการอักเสบของข้อที่ถูกเหนี่ยวนำโดยการฉีด adjuvant  ในหนูแรท Wistar พบว่า การสูบเสียน้ำหนัก ระดับการบวมของอุ้มเท้า  arthritic index score ลดลงอย่างมีนัยสำคัญ สำหรับระดับ Rheumatoid factor (RF) ในเลือดรวมทั้ง cytokines ต่างๆ คือ TNF-alpha, lL-1, lL=6 มีระดับลดลง นอกจากนี้ยังพบว่าสสารสกัดมะรุมมีผลลด oxidative stress ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับฤทธิ์ต้านการอักเสบ ในส่วนของเนื้อเยื่อ พบว่ามี  lymphocytes ออกมาอยู่ที่เนื้อเยื้อน้อยลง การสร้างหลอดเลือดใหม่ (angiogenesis) และการหนาตัวของเยื่อหุ้มข้อต่อ (synovial lining thickening) ลดน้อยลงด้วย ดังนั้นมะรุมมีผลลดการอักเสบที่ข้อได้

ความเป็นพิษของมะรุม

  • มีรายงานฤทธิ์ต้านการอักเสบของสารสกัดจากส่วนรากและเมล็ดของมะรุมในสัตว์ทดลอง แต่ข้อมูลในปัจจุบันยังไม่มีรายงานในคนว่ามีฤทธิ์ดังกล่าว และการรายงานความเป็นพิษพบว่าสารสกัดเมล็ดมีผลทำให้เม็ดเลือดแดงของกระต่ายรวมตัวกัน แมะเมื่อให้หนูแรทกินผงของเมล็ดดิบที่แก่ของมะรุมพบว่าทำให้ความอยากอาหาร การเจริญเติบโตและการใช้โปรตีนลดลง ขนาดของกระเพาะอาหาร ลำไส้ ตับ ตับอ่อน ไต หัวใจ และปอดใหญ่ขึ้น ในขณะที่ต่อมไทมัส และม้ามมีลักษณะฝ่อลงและมีรายงานว่าทำให้เกิดการแท้ง ดังนั้นควรระมัดระวังการใช้ส่วนต่างๆ ของมะรุมในสตรีมีครรภ์

ความเป็นพิษ มีการรายงานความเป็นพิษของมะรุมในระดับเซลล์และในสัตว์ทดลองว่า

  1. สาระสำคัญ 4 (alpha-L-rhamnosyloxy) phenylacetonitrile จากเมล็ด แสดงความเป็นพิษต่อเซลล์ใน Micronucleus test
  2. สารสกัดน้ำจากใบ หรือ 90% เอทานอลในขนาด 175 มก./กก. ของน้ำหนักแห้ง เมื่อป้อนให้หนูแรทที่มีการผสมพันธุ์สามารถทำให้เกิดการแท้งได้
  3. สารสกัดน้ำของรากขนาด 200 มก./กก. น้ำหนักตัว เมื่อให้กับหนูแรทจะเหนี่ยวนำให้เกิดทารกฝ่อ (foetal resorption) ในการตั้งครรภ์ระยะสุดท้าย
  4. สารสกัดเมล็ดด้วย 0.5 M borate buffer มีผลทำให้เม็ดเลือดแดงของกระต่ายรวมตัวกัน
  • เมื่อให้หนูแรทกินผงของเมล็ดดิบที่แก่ของมะรุม โดยไม่จำกัดจำนวนเป็นเวลา 5 วัน พบว่าทำให้ความอยากอาหาร การเจริญเติบโตและการใช้โปรตีนลดลง ขนาดของกระเพาะอาหาร ลำไส้ ตับ ตับอ่อน ไต หัวใจ และปอดใหญ่ขึ้น ในขณะที่ต่อมไทมันและม้ามมีลักษณะฝ่อลง โดยเปรียบเทียบกับหนูกลุ่มที่ได้รับอาหารที่มีไข่ขาวเป็นส่วนประกอบ
  • การทดสอบความเป็นพิษโดยให้หนูเม้าส์กินส่วนราก หรือฉีดสารสกัดไม่ระบุชนิดตัวทำละลายเข้าใต้ผิวหนังในขนาด 10 กก. น้ำหนักตัว ไม่พบความเป็นพิษ
  • การทดลองในสัตว์เป็นข้อมูลเบื้องต้นที่มีประโยชน์เพื่อการทำวิจัยต่อยอดไปยังการทดลองในมนุษย์ ซึ่งจะเห็นได้ว่า ตัวทำละลายที่นักวิจัยใช้ในการสกัดจะมีทั้ง น้ำ และแอลกอฮอล์ เพื่อให้สะดวกต่อการป้อนสัตว์ทดลอง ซึ่งข้อมูลข้างต้น เป็นความรู้ที่จะทำให้สามารถหาส่วนสกัดที่มีสาระสำคัญได้ หากจะรับประทานใบ เนื้อในฝัก หรือดอกมะรุมซึ่งเราใช้เป็นอาหารมานานแล้วเพื่อการรักษาโรค ก็อาจทำได้แต่อย่าหวังผลมากนัก และไม่ควรรับประทานในปริมาณมากหรือติดต่อกันนานเกิดไป ซึ่งอาจมีการสะสมสารบางอย่างและอาจเป็นพิษได้ และจากรายงานความเป็นพิษในสัตว์ทดลอง ซึ่งพบว่าทำให้เกิดการแท้ง ดังนั้นควรระมัดระวังการใช้ส่วนต่างๆ ของมะรุมในสตรีมีครรภ์